ชาวเน็ตร่วมติด กรุงไทยล่ม ร้องเรียนว่าแอปธนาคาร Krungthai Next ไม่สามารถใช้บริการได้ ล่าสุดตรวจสอบเข้าแอปฯได้แล้ว แต่ไม่ขึ้นเงินในบัญชี ชาวเน็ตในทวิตเตอร์ได้ร่วมกันติด #กรุงไทยล่ม เพื่อแจ้งข่าวว่าแอปธนาคารกรุงไทย หรือ Krungthai Next ล่มและไม่สามารถใช้ได้งานได้ โดยหลายคนเผยว่าไม่สามารถโอน หรือ สแกนจ่ายเงินได้ และทำให้ธุรกรรมหยุดชะงัก และยิ่งใกล้หวยงวด 16/11/65 ออกแล้วจะซื้อหวยก็อดซื้อ
ในช่วงแรกชาวเน็ตระบุว่าไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ ก่อนที่จะสามารถเข้าได้ แต่ไม่มีการแสดงข้อมูลและจำนวนเงินในบัญชีแต่อย่างใด
ขณะที่ทางธนาคารกรุงไทยยังไม่ได้ออกมาชี้แจงอย่างเป็นทางการ แต่ได้ตอบคอมเม้นท์ชาวเน็ตที่ได้มาร้องเรียนในหน้าเฟซบุ๊กว่า “ขณะนี้แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT สามารถกลับมาให้บริการการโอน เติม จ่าย ได้ตามปกติแล้ว ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ”
ทั้งนี้จากการตรวจสอบของทีมข่าว TheThaiger พบว่าขณะนี้สามารถเข้าแอป Krungthai Next ได้แล้ว แต่ไม่แสดงผลข้อมูลบัญชีแต่อย่างใด
แก๊สระเบิดฟาร์มหนูพุก ระหว่างยายทำก๋วยเตี๋ยวไก่เลี้ยงครอบครัว เจ็บสาหัสยกบ้าน 5 ราย เพื่อนบ้านเผยได้กลิ่นเหมือนแก๊สรั่ว เมื่อวันที่ 15 พ.ย. เจ้าหน้าที่ได้รับรายงานว่าเกิดเหตุแก๊สระเบิดฟาร์มหนูพุก ชลอฟาร์ม ที่ตั้งอยู่เลขที่ 160 หมู่ 3 ต.ทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี จึงประสานเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และ เจ้าหน้าที่กู้ภัยเข้าช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่ใช้เวลาราวๆ 20 นาที ก่อนสามารถควบคุมเพลิงได้สำเร็จ โดยสภาพห้องครัว อุปกรณ์ เครื่องใช้ถูกไฟคลอกเสียหาย ฝาบ้าน หลังคา และกำแพงบ้านถูกแรงระเบิดพังยับเยิน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสอีก 5 ราย ตั้งแต่ ตา ยาย พ่อ แม่ และ ลูกวัย 11 ปี เจ้าหน้าที่ได้นำตัวส่งโรงพยาบาล
เพื่อนบ้านเล่าว่า ยายเข้าไปทำก๋วยเตี๋ยวไก่เลี้ยงครอบครัว โดยได้จุดเตาแก๊สตั้งหม้อน้ำซุปเอาไว้ ยายสังเกตเห็นได้ว่า เตาแก๊สไฟไม่แรง น้ำที่ต้มไว้ไม่เดือด พร้อมได้ยินเสียงดังฟู่ ๆ คล้ายกลิ่นแก๊สรั่วที่หัวเตา จึงให้สามีช่วย จากนั้นไม่นานก็ได้ยินเสียงระเบิด เกิดเพลิงลุกไหม้ไปทั่วบ้าน โดยเสียงระเบิดดังไปไกลหลายกิโลเมตร
ด้าน นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าฯสุพรรณบุรี พร้อมด้วย นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง นายปิยพจน์ เกียรติชูสกุล ปธ.ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสองพี่น้อง และ นายสุรพล ตันกสิกิจ อบต.ทุ่งคอก ลงพื้นที่ติดตามเหตุแก๊สระเบิดดังกล่าว พร้อมเตรียมสนับสนุนเงินเยียวยาสงเคราะห์ผู้ประสบภัยฯ
Google Doodle ร่วมฉลอง ‘อังกะลุง’ เครื่องดนตรีมรดกโลก จากอินโดนีเซีย
Google Doodle ร่วมฉลอง แสดงความยินดีกับ อังกะลุง (Angklung) เครื่องดนตรีชาวพื้นเมืองอินโดนิเซีย ที่ทาง UNESCO ประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี 2010 ครบรอบ 12 ปี วันที่ 16 พฤศจิกายน 2022 Google Doodle จากทางกูเกิ้ล ได้ร่วมฉลองให้กับ อังกะลุง เครื่องดนตรีไม้ไผ่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เล่นในอินโดนีเซีย ซึ่งการฉลองนี้สามารถเห็นได้เฉพาะในบางภูมิภาค
อังกะลุง (Angklung) ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2010 โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO)
ต้นกำเนิดของอังกะลุงมีอายุย้อนไปถึง 400 ปีก่อน จากชาวอินโดนิเซีย จะประกอบด้วยกระบอกไม้ไผ่สองท่อนและฐาน เริ่มต้นมาจากช่างฝีมือที่ทำการเหลาไม้ไผ่เป็นกระบอกขนาดต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดระดับเสียงของอังกะลุง
เมื่อผู้เล่นเขย่าหรือเคาะฐานไม้ไผ่เบา ๆ เครื่องดนตรีจะส่งเสียงแหลมเสียงเดียว เนื่องจากอังกะลุงสามารถเล่นได้เพียงโน้ตเดียวเท่านั้น ดังนั้นการเล่นดนตรีชนิดนี้จึงต้องร่วมวงกันสร้างทำนองด้วยโน๊ตต่าง ๆ จากการเขย่าอังกะลุงตามระดับเสียงที่แตกต่างกัน
ในสมัยโบราณชาวบ้านเชื่อว่าเสียงของไม้ไผ่สามารถดึงดูดความสนใจของเทวีศรี เทพีแห่งข้าวและความเจริญรุ่งเรืองได้ ในแต่ละปี ช่างฝีมือที่ดีที่สุดของหมู่บ้านจะใช้ไม้ไผ่สีดำพิเศษเพื่อสร้างอังกะลุง ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว พวกเขาจัดพิธีและเล่นอังกะลุงโดยหวังว่าเทพเจ้าจะประทานพรให้พืชผลอุดมสมบูรณ์
อังกะลุง ยังคงเป็นแก่นของวัฒนธรรมชาวอินโดนีเซีย บ่อยครั้ง รัฐบาลจะจัดการแสดงอังกะลุงเพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติสู่ทำเนียบประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย นอกจากนี้ในด้านการเรียน อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีที่ยอดเยี่ยมสำหรับครูในการแนะนำนักเรียนให้รู้จักดนตรีและวัฒนธรรมชาวอินโดนีเซีย
การดำเนินการระหว่างการฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ ขอยืนยันว่าบริษัทฯ มีเจตนาที่ดีในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินไหมโควิด โดยการฟื้นฟูกิจการจะเปิดโอกาสให้บริษัทฯ และผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิดได้เจรจาร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการชำระหนี้ที่เหมาะสมให้กับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด และเป็นแนวทางที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย
ทั้งนี้ กระบวนการฟื้นฟูกิจการจะคุ้มครองให้ผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อ โควิดได้รับการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการมากกว่ากรณีที่บริษัทฯ ต้องปิดกิจการอย่างแน่นอน และกระบวนการฟื้นฟูกิจการจะให้ความมั่นใจได้ว่าผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด จะได้รับชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ได้มีการยอมรับร่วมกัน โดยผู้เอาประกันภัยโควิดที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีโอกาสได้พิจารณาและลงมติเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป