กระทรวงต่างประเทศบาห์เรน แถลงการณ์แจง “ฮาคีม” หนีไปอิหร่าน ผิดกฎหมายบาห์เรน

กระทรวงต่างประเทศบาห์เรน แถลงการณ์แจง “ฮาคีม” หนีไปอิหร่าน ผิดกฎหมายบาห์เรน

วันที่ 5 ก.พ. กระทรวงการต่างประเทศบาห์เรน ออกแถลงการณ์กรณี นายฮาคีม อัล อาไรบี อดีตนักฟุตบอลบาห์เรน วัย 25 ปี ซึ่งถูกจับกุมที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ขณะเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย และอยู่ระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำที่กรุงเทพฯ รอการพิจารณาของศาลอาญาตัดสินจะส่งตัวนายฮาคีมกลับมายังบาห์เรน โดยศาลนัดครั้งต่อไปวันที่ 22 เม.ย. นั้น

กระทรวงการต่างประเทศบาห์เรน ระบุว่า ที่ทางการบาห์เรนออกหมายจับนายฮาคีม อัล อาไรบีนั้น 

มาจากนายฮาคีม อัล อาไรบี ได้หลบหนีขณะรอการพิจารณาคดีในบาห์เรน ระหว่างเดินทางไปร่วมการแข่งขันฟุตบอลในกาตาร์ เมื่อ ธ.ค. 2556 นายฮาคีมกลับได้หลบหนีไปยังประเทศอิหร่าน ซึ่งถือเป็นการละเมิดเงื่อนไขการอนุญาตให้ได้รับการประกันตัว

ต่อมานายฮาคีมได้ลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียตั้งแต่ปี 2557 และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากรัฐบาลออสเตรเลีย ให้อาศัยในออสเตรเลียได้ไม่จำกัดเวลา ก่อนจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยพร้อมภรรยา และถูกทางการไทยจับกุมตามหมายจับอินเตอร์โพลที่สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เมื่อ พ.ย.61 ที่ผ่านมา จนต่อมาเกิดกระแสกดดันจากประเทศออสเตรเลียและนานาชาติให้ปล่อยตัวฮาคีม เป็นกระแส #savehakeem ขึ้นมา

การที่รัฐบาลบาห์เรนขอให้อินเตอร์โพลออกหมายจับนายฮาคีม อัล อาไรบีนั้น เป็นระเบียบมาตรฐานของชาติสมาชิกทั้งหมดของอินเตอร์โพล ซึ่งนายฮาคีม อัล อาไรบี เป็นจำเลยในคดีอาญาที่ประเทศบาห์เรน แต่อดีตนักฟุตบอลทีมชาติคนนี้ไม่ได้มาขึ้นศาลเพื่อปกป้องตนเอง หรือการปฏิเสธข้อกล่าวหา รวมทั้งข้อหาการวางเพลิงและทำลายทรัพย์สินของทางการ ในกระบวนการยุติธรรมของประเทศบาห์เรน ในขณะที่นายฮาคีม อัล อาไรบี ยังคงมีสิทธิ์จะยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินของศาล ถ้าเขามาขึ้นศาลบาห์เรน

จากกรณี “นายฮาคีม” อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาเรนห์ ถูก ตม. ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิจับกุมตัวขณะเดินทางจากประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. และทางการไทยกักขัง “นายฮาคีม” ไว้ชั่วคราวเป็นเวลา 60 วัน ระหว่างรอคำร้องขอจากบาห์เรนที่ขอให้ส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนนั้น

ล่าสุุด เวลา 09.00 น. วันที่ 4 ก.พ. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมเม็ด อาลี อัลโอไรบี มายังศาลอาญารัชดา โดยศาลได้เบิกตัวนายฮาคิม มาสอบถามความยินยอมกลับไปยังบาห์เรนตามที่อัยการได้ยื่นคำร้องหรือไม่  ระหว่างฮาคีมถูกนำตัวไปยังห้องพิจารณาคดี เขาได้ตะโกนบอกสื่อมวลชนว่า “ได้โปรดบอกเขา อย่าส่งตัวผมกลับบาห์เรน” ส่วนฟอสเตอร์ได้ตะโกนบอกฮาคีมว่า ภรรยาของเขาบอกให้ ‘เข้มแข็งไว้’

ทั้งนี้ มีตัวแทนจากสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เฝ้าสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึง “เครก ฟอสเตอร์” อดีตกัปตันฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย แกนนำรณรงค์การปล่อยตัวฮาคีม ในแคมเปญ #SaveHakeem เดินทางมายังศาลเพื่อสังเกตการณ์การพิจารณาคำร้องในครั้งนี้ด้วย

โดยฟอสเตอร์ และเจ้าหน้าที่ของทางการออสเตรเลีย กล่าวว่า การนำตัวฮาคีมมาขึ้นศาลพร้อมกับโซ่ตรวน เป็นการส่งสัญญาณที่น่ากลัวไปทั่วโลก และจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย รวมถึงบทบาทของไทยในการจัดแข่งขันฟุตบอลนัดระหว่างประเทศ เพราะไม่มีหลักประกันได้ว่านักฟุตบอลต่างชาติที่มายังไทยจะได้รับการคุ้มครอง

ตะลึง อียิปต์พบมัมมี่อายุ 2,000 ปี ในสภาพดี!

วันที่ 2 ก.พ.  นิวยอร์กไทม์ส เผยวิดีโอนาทีระทึก เหตุการณ์เขื่อนแตกในพื้นที่เหมืองแร่เหล็ก เมืองบรูมาดิญโญ่ ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตและสูญหายมากกว่าหลายร้อยคน

ภายหลังจากเกิดเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่กู้ภัย ได้นำเฮลิคอปเตอร์ไปยังพื้นที เพื่อเข้าช่วยเหลือ แต่ไม่มีรายงานผู้รอดชีวิตตลอดกว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 115 ราย และสูญหายอีก 248 ราย

ญาติและเพื่อนของเหยื่อได้ทยอยเดินทางไปยืนยันศพผู้เสียชีวิต ท่ามกลางความโศกเศร้าและอาลัย ขณะที่ทางด้าน Vale บริษัทผู้บริหารจัดการเหมืองแร่เหล็ก ได้ระบุว่าจะมีการให้เงินช่วยเหลือให้กับทางครอบครัวที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อนดังกล่าวรายละ 13,600 ดอลลาร์ หรือราว 425,000 บาท

ญาติและเพื่อนของเหยื่อได้ทยอยเดินทางไปยืนยันศพผู้เสียชีวิต ท่ามกลางความโศกเศร้าและอาลัย ขณะที่ทางด้าน Vale บริษัทผู้บริหารจัดการเหมืองแร่เหล็ก ได้ระบุว่าจะมีการให้เงินช่วยเหลือให้กับทางครอบครัวที่อาศัยอยู่ใกล้เขื่อนดังกล่าวรายละ 13,600 ดอลลาร์ หรือราว 425,000 บาท

มัมมี่สีน้ำตาลมีขนาดและเพศต่างกันห่อด้วยผ้าลินิน ตกแต่งด้วยงานเขียน demotic ภาษาอียิปต์โบราณ บางคนยังคงสวมเศษกระดาษแข็งสีซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำหน้ากากศพ มัมมี่ชายและหญิง เด็ก ๆ และสัตว์เหล่านี้ถูกค้นพบในหลุมฝังศพของครอบครัว “ชนชั้นกลาง” ของ Ptolemaic -ชื่อของราชวงศ์สุดท้ายของฟาโรห์จากกรีก ก่อนที่อียิปต์จะถูกปกครองภายใต้การปกครองของโรมัน พระนางคลีโอพัตราซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป